เลือกฟิล์มกรองแสงมาใช้ให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด พอขึ้นชื่อว่าเป็นของแถมก็มักจะแลกมาด้วยประสิทธิภาพที่ไม่เต็มที่ ในช่วงแรกของการใช้งานอาจจะไม่มีปัญหากวนใจ แต่พอใช้งานผ่านไป 6 เดือน – 1 ปี ทีนี้ละความทรมานเริ่มมาเยือน เพราะฟิล์มกรองแสงที่แถมมาให้ (แบบที่เราไม่รู้ที่มาที่ไป) เริ่มออกอาการเห็นภาพไม่ชัดบ้าง เบลอบ้าง เกิดฟองอากาศบ้าง ขับแล้วปวดหัว จนถึงรู้สึกร้อนจนแสบผิว ส่งผลให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ สุดท้ายแล้วเรื่องจะจบก็คือต้องติดตั้งฟิล์มกรองแสงใหม่นั่นละ
การติดฟิล์มรถยนต์เชียงใหม่นั้นจะมีหลายองค์ประกอบที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพของฟิล์มมากที่สุด
1. คุณภาพแผ่นฟิล์ม
ฟิล์มกรองแสงที่ใช้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามวัสดุที่นำมาเคลือบบนแผ่นฟิล์ม คือฟิล์มกรองแสงที่มีโลหะ (Metallic Sputtering Film) เป็นส่วนประกอบ ฟิล์มเซรามิก Ceramic Film (ข้อนี้ต้องระวัง ถ้าเซรามิกแท้จะดำนอกสว่างใน กันความร้อนดี แต่ถ้าเซรามิกเทียมจะดำนอกดำใน กันความร้อนได้เพียง 1-2ปี) และฟิล์มย้อมสี (Dyed Film) ซึ่งในที่นี้เราจะขอพูดถึงฟิล์มย้อมสีที่มีราคาถูก เพราะมีคุณสมบัติเพียงแค่การลดแสงสว่างที่ผ่านมาทางกระจกเข้าเท่านั้น ไม่มีคุณสมบัติกันความร้อน หรือใช้งานได้ดีเพียง 1 – 2 ปีแรก หลังจากนั้นก็จะเสื่อมสภาพ ต่างจากฟิล์มกรองแสงที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบหรือฟิล์มเซรามิกแท้ สำหรับเรื่องการใช้งาน ฟิล์มย้อมสี พอใช้ไปสักระยะ ก็จะเริ่มเป็นเปลี่ยนสีม่วง ส่งผลให้ทัศนวิสัยการขับขี่รถยนต์ผิดเพี้ยนเป็นอันตราย
2. ช่างฝีมือไม่ชำนาญ
การติดตั้งฟิล์มกรองแสง เปรียบเสมือนงานศิลปะชิ้นหนึ่งที่ต้องอาศัยฝีมือ และความใจเย็นของช่างในการติดตั้ง เพราะถ้าหากช่างที่ทำการติดตั้งไม่มีความรู้ในตัวสินค้าแล้ว ก็จะทำให้การติดตั้งฟิล์มกรองแสงทำได้ไม่เต็มที่ เช่น เวลาการกรีดฟิล์มที่กระจกก็จะทำให้ฟิล์มไม่เสมอกัน โดยเฉพาะตรงขอบกระจกเกิดความเสียหาย หรือการติดตั้งที่ไม่ชำนาญ อาจทำให้ฟิล์มย่น เป็นคลื่น หรือมีเม็ดฝุ่นสิ่งสกปรกปะปนเกินมาตรฐานที่ยอมรับได้ ส่งผลให้มีปัญหาหลังการใช้งาน
3. คุณภาพกาว
กาวก็เป็นส่วนสำคัญสำหรับการติดตั้งฟิล์มกรองแสง ใช้เพื่อให้ฟิล์มเกิดการยึดเกาะ โดยกาวที่ใช้นอกจากจะต้องบาง ใส และเหนียวอย่างพอดี ไม่มากไป ไม่น้อยไป (ฟิล์มที่มีชั้นกาวหนาเกินไป จะทำให้ฟิล์มมีลักษณะเบลอ ไม่คมชัด แต่ถ้าบางไปก็จะทำให้ฟิล์มลอกล่อนง่าย แล้วยังต้องทนต่อความร้อนหรือความเย็นของกระจกได้ ไม่ทำให้ฟิล์มกรองแสงเกิดอาการฟิล์มเบลอ ภาพบิดเบือน พอง ลอก ล่อน หรือเป็นฟองอากาศ